Wednesday, October 4, 2023
spot_img
HomeOther Countriesตลาดทุนไทย 2023 วิวัฒน์สู่การเติบโตครั้งใหม่ - การเงินธนาคาร

ตลาดทุนไทย 2023 วิวัฒน์สู่การเติบโตครั้งใหม่ – การเงินธนาคาร

Privacy Overview เว็บไซต์ moneyandbanking.co.th มีการเก็บคุกกี้ (Cookies) หรือไฟล์ข้อมูลที่ใช้ระบุตัวตนและจดจำผู้ใช้งาน เพื่อใช้ในการพัฒนาปรับปรุงและมอบประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติม

ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวในงานสัมมนาของวารสารการเงินธนาคาร “Thailand Next Move 2023 : The Nation Recharge” หัวข้อ “Capital Market 2023 : Evolution of the Next Growth” ว่า ตลาดทุนไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องการระดมทุนที่นับว่าตลาดทุนไทยสามารถก้าวเข้าสู่ระดับโลกได้แล้ว โดยปี 2565 ตลาดหุ้นไทยมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) ของหุ้นสามัญที่เสนอขายให้กับประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ราว 4.5 แสนล้านบาท สูงสุดเป็นอันดับที่ 7 ในเอเชีย และอันดับที่ 18 ของโลก


 
ย้อนไปเมื่อ 10 ปีก่อน SET มีมาร์เก็ตแคป 11.8 ล้านล้านบาท ตลาดหลักทรัพย์  mai มีมาร์เก็ตแคป 1.3 แสนล้านบาท โดยมีอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุด คือ ทรัพยากร และการเงิน มีสัดส่วนเท่ากัน คือ 21% หมวดบริการ 18% อสังหาริมทรัพย์ 15% และเทคโนโลยี 12%
 
ปัจจุบัน SET มีมาร์เก็ตแคป 19.3 ล้านล้านบาท ตลาด mai มีมาร์เก็ตแคป 5.6 แสนล้านบาท เติบโตจาก 10 ปีที่แล้ว เกือบ 2 เท่า อุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ ภาคบริการ 25% ทรัพยากร 23% การเงินและประกัน 15% เทคโนโลยี 12% และอสังหาริมทรัพย์ 12% (ข้อมูล ณ 19 ต.ค.2565 ) โดยเห็นได้ชัดถึงการเปลี่ยนแปลง และเชื่อว่าในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า ตลาดหุ้นไทย จะมีองค์ประกอบที่ใหญขึ้นเรื่อยๆ
 
เช่นเดียวกับสภาพคล่องการซื้อขายในตลาดหุ้นไทยปี 2565 แม้ว่าจะลดลงจากปีก่อนบ้าง แต่ยังคงสูงที่สุดในอาเซียน หรือเฉลี่ย 8 หมื่นล้านบาทต่อวัน ลดลงจากปี 2564 ที่มีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน  9.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นผลกระทบจากสถานการณ์ต่างๆที่ทั่วโลกเผชิญเหมือนกัน 


ตลาดหุ้นไทยมีบัญชีซื้อขายของนักลงทุนเติบโตอย่างมาก โดยในรอบ 9 เดือนมีจำนวน 5.67 ล้านบัญชี (ข้อมูล ณ 2 พ.ย.2565)  เติบโตจาก 3 – 4 ปีก่อนที่มีประมาณ 3 ล้านบัญชี  แม้ในช่วงที่ผ่านมามีการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่เห็นได้ชัดว่ามีการเปิดบัญชีใหม่ค่อนข้างสูง ถือเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งาน และได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี
 
ดร.ภารกล่าวว่า  ตลาดทุนไทยเป็นแหล่งระดมทุนที่เปิดรับทั้งบริษัทในประเทศและบริษัทจากต่างประเทศเข้ามาระดมทุน โดยมีบริษัทที่เป็นเศรษฐกิจกระแสใหม่ (New Economy) เข้ามาระดมทุนในไทยเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังมีการพัฒนาระบบการซื้อขายใหม่ เช่น ตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ (LiVEx) ที่ได้จัดเตรียมไว้เพื่อเป็นแหล่งระดมทุนสำหรับเอสเอ็มอี และสตาร์ทอัพ
 
ด้านผลิตภัณฑ์การลงทุน ตลาดทุนไทยมีผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศเพื่อเพิ่มความหลากหลายและเพิ่มทางเลือกให้กับนักลงทุน เช่น กองทุนรวม ETF ที่สามารถซื้อ-ขายได้เป็นจำนวนบาท ไม่จำเป็นต้องซื้อเป็นจำนวนมากอย่างที่เคยซื้อ ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถซื้อ – ขาย กองทุนรวมจากหลายกองได้ทั่วประเทศและทุกพื้นที่ทั่วโลกผ่านระบบสตรีมมิ่งที่สามารถรองรับการบริการได้ผ่านช่องทางออนไลน์
 
ความน่าสนใจอีกด้านคือ การประกอบธุรกิจด้วยความยั่งยืน (ESG) เห็นได้ชัดว่าบริษัทในไทยสามารถทำเรื่องนี้ได้มีประสิทธิภาพที่ดีไม่ว่าจะเป็นแนวคิด ESG การได้เข้าคำนวณในดัชนี DJSI และดัชนี MSCI เป็นต้น โดยบริษัทในไทยกระจายตัวอยู่ในดัชนีเหล่านี้เป็นจำนวนมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)


สำหรับบทบาทของตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้พยายามสร้างการเรียนรู้ด้านการเงิน การลงทุน เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน นักลงทุน และผู้เกษียณอายุ เริ่มเข้ามาใช้ตลาดทุนสำหรับการลงทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาวได้เป็นอย่างดี และสุดท้าย คือ เรื่องการรักษ์โลก ที่ทำร่วมกับบริษัทจดทะเบียน องค์กรภาครัฐและเอกชนร่วมกันปลูกป่า กำจัดขยะ และเรื่องก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  เพื่อให้สังคมและสิ่งแวดล้อมในประเทศดีขึ้น
 
ดร.ภากร กล่าวถึงศักยภาพของบริษัทจดทะเบียนไทยว่า กำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนปรับตัวดีขึ้นจากช่วงก่อนสถานการณ์โควิด เช่น กลุ่มส่งออก กลุ่มเทคโนโลยี และภาคการผลิต สำหรับกลุ่มท่องเที่ยว โรงแรม และกลุ่มโรงพยาบาลยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ แต่ยังเห็นศักยภาพว่าจะสามารถฟื้นตัวได้อีก ทั้งนี้ บริษัทจดทะเบียนไทย มีความสามารถในการทำกำไรได้เป็นอย่างดี จาก K-Shaped Recovery ที่ชัดเจนว่าบางกลุ่มมีกำไรเพิ่มขึ้นกว่า 50 – 60% เมื่อเทียบจากปี 2563
 
ตลาดหลักทรัพย์ฯ มองอุตสาหกรรมที่เป็น New Economy หรือธุรกิจที่อยู่ในเศรษฐกิจยุคเก่า (Old Economy) ที่ได้นำดิจิทัลเข้ามาปรับการทำงานให้สามารถฟื้นตัวได้รวดเร็วและต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมอาหาร ที่มีรูปแบบอาหารใหม่ๆ เกิดขึ้นจำนวนมาก เช่น โปรตีนจากพืช ตลอดจนอาหารด้านสุขภาพต่างๆ ที่จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์อาหารไม่ใช่เพียงแค่วัตถุดิบ หรืออาหารกล่องทั่วไป แต่มีอาหารประเภทใหม่เข้ามามากมาย ซึ่งบริษัทจดทะเบียนของไทยก็มีธุรกิจประเภทนี้กระจายตัวอยู่ทั่วไป
 
อีกทั้งเรื่องการท่องเที่ยว ปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงของนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาทำงาน ยังมีการอาศัยอยู่ในไทยด้วย ส่งผลให้กลุ่มท่องเที่ยว โรงพยาบาล หรือกลุ่มบริการ ร้านสปา มีการเติบโต อีกทั้งมีกลุ่มผู้สูงอายุที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยจำนวนมากขึ้น โดยการที่ภาครัฐพยายามผลักดันเรื่อง Long Resident Program ในการช่วยสร้างมูลค่าทางธุรกิจให้มีการเจริญเติบโตมากยิ่งขึ้น
 
ดร.ภากร กล่าวว่า ในปัจจุบันกลุ่ม New Economy ยังคงมีไม่มากนัก แต่การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำให้บริษัทจดทะเบียนสามารถทำกำไรได้รวดเร็ว ถือเป็นสิ่งที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เห็นมาตั้งแต่ช่วงสถานการณ์โควิด-19 จากการทำวิจัยแล้วพบว่าบริษัทที่ฟื้นตัวได้เร็วส่วนใหญ่มาจากการปรับตัวโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนระบบการทำงาน และเข้ามาเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ ออกผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมากขึ้น สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับตัวให้เข้ากับโลก New Normal ได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯและภาครัฐร่วมกันสนับสนุนให้เอสเอ็มอี และสตาร์ทอัพ เข้ามาระดมทุน สร้างรูปแบบการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ (New S-curve) โดยกลุ่มอุตสาหกรรมของตลาดทุนไทยมีความพร้อมและหลากหลายเพียงพอ
 
ปัจจุบันมีการปรับปรุงในเรื่องของ CSR เรื่อง ESG และเรื่อง Sustainability ที่ทำให้บริษัทจดทะเบียนไทยสามารถเข้าไปอยู่ในดัชนีที่สำคัญระดับโลกสูงที่สุดในอาเซียน และเป็นอันดับต้นเมื่อเทียบกับบริษัททั่วโลก รวมทั้งมีการกระตุ้นบริษัทขนาดกลางและเล็ก ให้มีความสนใจเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น โดยเชื่อว่าการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนเป็นประโยชน์ต่อทุกคน ด้านผลิตภัณฑ์การลงทุนประเภทกองทุนรวมด้าน ESG ปัจจุบันมีจำนวน 73 กอง ขนาดกองทุนเติบโตกว่า 240% เมื่อเทียบกับปีก่อน

ในส่วนของสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) ที่จะทำให้ตลาดทุนไทยมีผลิตภัณฑ์ประเภทดังกล่าว เพื่อให้มีการระดมทุน ในฝั่งของผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลที่เหมาะสมได้ ซึ่งความตั้งใจของตลาดหลักทรัพย์ฯ คือ โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (investment token) และโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (utility token) 
 
สำหรับกระดานซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์ฯจะเปิดให้บริการ คือ บริษัท ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไทย จำกัด (TDX) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อกับการระดมทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลด้วยหลักการเพิ่มโอกาสในการระดมทุน ลงทุนผ่าน Investment token และ Utility token โดยพัฒนาแพลตฟอร์มดังกล่าวให้ครบวงจร และสามารถเชื่อมต่อกับผู้คนได้หลากหลาย เปิดให้ลูกค้าและผู้ให้บริการอื่นๆ เข้ามาร่วมทำงานได้ โดยนำระบบออนไลน์เข้ามาเป็นตัวกลางที่เชื่อมระหว่าง 2 ตลาด ซึ่งจะส่งผลให้การบริการในตลาดทุนไทยในอนคตมีความครบถ้วนมากขึ้น
           
 
แนวโน้มการลงทุนในปี 2566
เน้นความหลากหลายของสินทรัพย์
 
แนวโน้มการลงทุนในปี 2566 ดร.ภากร แนะนำนักลงทุนควรพิจารณาจากความหลากหลายของสินทรัพย์ที่มีมากขึ้น ไม่ใช่เฉพาะตราสารหนี้ กองทุนรวมในประเทศ-ต่างประเทศ หุ้นในประเทศ-ต่างประเทศ ตราสารหนี้ภาครัฐบาลและเอกชน ที่ในอนาคตมีความหลากหลายเกิดขึ้นต้องเลือกให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ รวมทั้งการสร้างพอร์ตลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยงที่สามารถรับได้และได้รับผลตอบแทนที่ดี
 
เรื่องที่อยากจะเสริมเข้ามาใหม่ คือ อยากให้นักลงทุนเล็งเห็นถึงจุดแข็งของประเทศไทย อย่างเช่น การท่องเที่ยว อาหาร โรงแรม โรงพยาบาล เฮลท์แคร์ หากเชื่อในกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ ก็จะเป็นจุดที่สามารถเลือกลงทุนได้ นอกจากนี้มีธุรกิจที่ให้ความสำคัญเรื่องความยั่งยืน ธุรกิจต่างๆมากมายเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถใช้เหตุและผลของตัวเองเลือกลงทุนได้อย่างเหมาะสม


… [อ่านต่อ]
… [อ่านต่อ]
… [อ่านต่อ]
[email protected]
นโยบายความเป็นส่วนตัว
02-6914126-30
คุณสามารถรับข่าวสารจากทางเราได้ที่อีเมลของคุณ
[email protected]

source

spot_img
RELATED ARTICLES
spot_img

Most Popular