ที่มาของภาพ, Getty Images
การ "ปลดล็อก" กัญชา กัญชง ทุกคนปลูกได้ในวันที่ 9 มิ.ย. นี้ ประชาชนสามารถปลูกเพื่อใช้เอง รวมทั้งผู้ประกอบการที่ปลูกในเชิงพาณิชย์ โดยไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องจดแจ้งผ่านแอปพลิเคชัน "ปลูกกัญ" ขององค์การอาหารและยา (อย.)
ส่วนการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อจำหน่าย ทั้งอาหาร เครื่องสำอาง และยาสมุนไพร ยังคงต้องขออนุญาต
สำหรับการนำเข้าเมล็ดพันธุ์และส่วนของพืช ต้องขออนุญาตกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หากเป็นผลิตภัณฑ์ต้องขออนุญาตกับ อย. โดยขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์
สำหรับการปลดล็อกวันที่ 9 มิ.ย. นี้ มีอะไรที่ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาต และเรื่องไหนที่ต้องจดแจ้งและขออนุญาตอยู่
กองควบคุมวัตถุเสพติดกัญชา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้ข้อมูลว่า โดยทั่วไปแล้วการทำสารสกัดกัญชาจะตรวจสอบว่ามีสารแต่ละส่วนปริมาณเท่าใด ต้องนำสารสกัดที่ได้ไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะอนุญาตให้ปลูกตามบ้านได้แล้ว ให้ใช้ส่วนประกอบของพืช ยกเว้น ช่อ ดอก ในการทำอาหาร แต่การนำส่วนใดส่วนหนึ่งของกัญชา กัญชง ไปสกัดเพื่อให้ได้สาร THC หรือ Tetrahydrocannabinol ยังคงต้องแจ้งขออนุญาตผลิตสกัดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด (ยกเว้นการสกัดจากเมล็ด) โดยสารสกัดที่มี THC ไม่เกิน 0.2% จะได้รับการยกเว้นไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ
สำหรับ THC เป็นสารของกัญชาที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท ทำให้ผ่อนคลาย นอนหลับ ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และกระตุ้นให้อยากอาหาร
ที่มาของภาพ, Getty Images
หลังจากปลดล็อกแล้ว อะไรที่ขายได้บ้าง
ไม่ต้องขออนุญาต ได้แก่ การขายส่วนของพืช ไม่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายยาเสพติด
ยังต้องขออนุญาต ได้แก่
การจำหน่ายผลิตภัณฑ์เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์นั้น
กองควบคุมวัตถุเสพติดกัญชา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุว่า ส่วนของกัญชา กัญชง และสารสกัดแคนนาบิไดออล (CBD) ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารเพื่อผลิตจำหน่าย ต้องเป็นเฉพาะส่วนของพืชที่กำหนดในประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ เมล็ดกัญชง น้ำมันจากเมล็ดกัญชง โปรตีนจากเมล็ดกัญชง ผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน รากและใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย และผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการใช้ประโยชน์จากสารสกัด CBD
ผู้ประกอบการสามารถขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหารหรือขออนุญาตใช้ฉลากอาหาร เพื่อรับเลขสารบบอาหาร และต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐาน เงื่อนไขชนิดอาหาร ปริมาณ THC และ CBD และแสดงคำเตือนเป็นไปตามที่ประกาศกำหนด ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะผลิตอาหารเพื่อจำหน่าย ต้องดำเนินการยื่นขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารและเลขสารบบอาหารด้วย
ที่มาของภาพ, Getty Images
เมื่อ 1 มิ.ย. ที่ผ่านมา นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการสาธารณสุขมีมติเห็นชอบร่างคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง แนวทางควบคุม เหตุรำคาญ จากการกระทำให้เกิดกลิ่น หรือควันกัญชา กัญชง หรือพืชอื่นใด สำหรับราชการส่วนท้องถิ่นใช้ควบคุมเหตุรำคาญแล้ว
รายละเอียดของประกาศนี้ ให้เจ้าพนักงานในท้องถิ่นดูแล เมื่อได้รับแจ้งเรื่องร้องเรียนเหตุรำคาญ เรื่อง กลิ่นหรือควันจากการสูบกัญชา กัญชง หรือพืชอื่นใด ให้เจ้าพนักงานดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย โดยศึกษาข้อมูลเบื้องต้น เช่น สถานที่หรือบริเวณที่ถูกร้องเรียน สถานที่ที่ประชาชนร้องเรียน แหล่งกำเนิดกลิ่นหรือควัน ลักษณะกลิ่น ช่วงเวลาที่ได้รับผลกระทบ ก่อนแจ้งเตือนให้แก้ไขในเวลาที่กำหนด
"กรณีผู้ถูกร้องเรียนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครอง ให้เจ้าพนักงานดำเนินการส่งเรื่องให้ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข โดยอัตราโทษกรณีไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นดังกล่าวข้างต้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 25,000 บาทถ้วน หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนกรณีผู้ถูกร้องเรียนปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครอง เรื่องยุติ ให้เจ้าพนักงานแจ้งผลการดำเนินการให้ผู้ร้องเรียนทราบต่อไป" อธิบดีกรมอนามัย ระบุ
ที่มาของภาพ, Getty Images
กัญชาสามารถใช้รักษาโรคได้ โดยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้การนำผลิตภัณฑ์ยากัญชามาใช้ ต้องได้รับการวินิจฉัย จากแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ คำแนะนำมีดังนี้
สำหรับอาการผิดปกติที่พบได้บ่อย ได้แก่ ง่วงนอนมากกว่าปกติ ปากแห้ง คลื่นไส้อาเจียน มึนเวียนศีรษะ หรือปวดศีรษะ
อาการผิดปกติที่ควรไปพบแพทย์ที่่โรงพยาบาล
ผู้ที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ
© 2022 บีบีซี. บีบีซีไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อเนื้อหาของเว็บไซต์ภายนอก. นโยบายของเราเรื่องการเชื่อมต่อไปยังลิงก์ภายนอก. อ่านเกี่ยวกับแนวทางของเราในการติดต่อกับลิงก์ภายนอก
กัญชง กัญชา : "ปลดล็อก" แล้ว ปลูก ใช้ จำหน่าย อย่างไร ให้ถูกกฎหมาย – บีบีซีไทย
RELATED ARTICLES